Hetalia: Axis Powers - Rome

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

จันทร์เจ้า


I say goodbye

วันที่เรานั้นเคยเอ่ยคำร่ำลา
เป็นคำสัญญาย้ำเตือนความทรงจำ
ว่าความเป็นจริง แม้ทุกสิ่งเวียนหมุนไป
ข้างในแค่หัวใจเหลือเพียงรักนิรันดร์

ก็เพราะเวลาไม่อาจจะ คืนย้อนมา
แค่ปล่อยให้ลมพัดพา ไปฉากสุดท้าย

ในวันไหนที่ใจของเธออ่อนแรงแล้ว
จันทร์เจ้าขา ฉันวอนข้อความฝากบอกเธอ
ก่อนหลับฝัน ให้มองพระจันทร์ดูดดื่ม
ความสัมพันธ์ ที่ส่องกระทบเธอ

I say goodbye

ในบางคราวแสงมาบดบังสายตา
ทำคำสัญญาเหลือเพียงความมืดดำ
แต่ในราตรีนี้จะกลับมาเหมือนเดิม
แววตาของเธอเติมให้รักงดงาม

ร้องบรรเลง เสียงเพลงเทาเทา
ท่ามกลางหมู่ดาว ร้อยเรื่องราวนับพัน

วันเดือนปีจะคอยมองดู
จันทร์กระจ่างจะคอยเคียงคู่
ส่องลงมาเพื่อคอยเฝ้าดู
ให้รักกลายเป็นศรัทธา

ในวันไหนที่ใจของเธออ่อนแรงแล้ว
จันทร์เจ้าขา ฉันวอนข้อความฝากบอกเธอ
ก่อนหลับฝัน ให้มองพระจันทร์ดูดดื่ม
ความสัมพันธ์ ที่ส่องกระทบเธอ

I say goodbye
I say goodbye
I say goodbye
I say goodbye
...��ҧ�ԧ http://sz4m.com/t5609

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก  ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้
  1. งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
  2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ  หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
  3. งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
  4. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
  5. งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
  6. การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด     ที่มา http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page14.htm

บทบาทของคอมพิวเตอร์


บทบาทของคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของเรา และความสำคัญนี้ได้ทวีมากยิ่งขึ้นในอนาคต คอมพิวเตอร์ได้เข้าไปมีบทบาทในทุกวงการอาชีพ โดยเฉพาะกับงานที่มีข้อมูลมาก ๆ และกำลังจะกลายเป็นเครื่องใช้สามัญในบ้านเหมือนกับเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานต่าง ๆ จำแนกได้ดังนี้
1. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริหาร เช่น การคิดคะแนน
  • ทำทะเบียนบุคลากร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริการ เช่น งานห้องสมุด งานแนะแนว
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน
2. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงราชการ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำทะเบียนราษฎร์
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการนับคะแนนเลือกตั้ง คิดภาษี อากร การบริหารทั่วไป
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการรวบรวมข้อมูลและสถิติ
  • การบริหารงานทั่วไปของหน่วยงานราชการ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ยิ่งขั้น
3. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานสังคมศาสตร์
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิจัย เพื่อให้ได้คำตอบออกมาอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
4.บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการบันทึก
  • ค้นหาทะเบียนประวัติผู้ป่วย
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการวินิจฉัยโรค เช่น ตรวจคลื่น สมอง บันทึกการเต้นของหัวใจ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณหาตำแหน่งที่ถูกต้อง ของอวัยวะก่อนการผ่าตัด
5และสื่อสาร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการจองตั๋วเครื่องบิน
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บข้อมูล สถิติของผู้โดยสาร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมการจราจรทางอากาศ
6. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการประเมินสถานการณ์ทาาง เศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยงานธุรการ เช่น งานพัสดุ งานภาษี การทำจดหมายโต้ตอบ
7. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการรับฝากและถอนเงิน ที่เป็นภาระกิจประจำของธนาคาร
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการคิดดอกเบี้ยในอัตราต่างๆ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยให้ลูกค้า ฝากถอนเงินด่วน หรือโอนเงินจากเครื่องได้โดยอัตโนมัติ (ATM)
8. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบ
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมหุ่นยนต์ให้ทำงาน
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณโครงสร้าง วางแผน ควบคุมการก่อสร้าง
9. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการเปรียบเทียบ คัดเลือกข้อมูล
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการทดลองที่เป็นอันตราย
  • คอมพิวเตอร์ช่วยในการเดินทางของยานอวกาศ การถ่ายภาพระยะไกล และการสื่อสารผ่านดาวเทียม
10. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก
  • ห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คิดเงินแทนเครื่องคิดเลข
  • การอ่านรหัสด้วยเครื่องอ่าน (Barcode)
ที่มา http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/raim/in_1p2.html

ระดับของสารสนเทศ


ระดับของสารสนเทศ
ปัจจุบันข้อมูลและสารสนเทศมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสังคมในยุคปัจจุบันถือได้ว่าเป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based Society) กล่าวคือ คนในสังคมใช้ข้อมูลและสารสนเทศในการตัดสินใจ มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะสารสนเทศเป็นสิ่งที่ช่วยให้การตัดสินใจของผู้ใช้มีความแม่นยำ ให้นักเรียนลองจินตนาการดูว่า หากนักเรียนต้องการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการเดินเข้าไปที่ร้านและเลือกพิจารณาคอมพิวเตอร์ทีละยี่ห้อเพื่อเปรียบเทียบด้วยตนเองนั้น นักเรียนคงต้องใช้เวลาเป็นวันในการเทียบเคียงข้อมูล แต่ปัจจุบันหากนักเรียนต้องการข้อมูลเพื่อตัดสินใจซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เพียงแต่เข้าอินเทอร์เน็ต นักเรียนจะพบว่ามีหลายเว็บไซต์ที่ให้นักเรียนกรอกความต้องการการใช้งานเครื่อง แล้วเว็บไซต์จะประมวลผลและนำเสนอเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะและรุ่นใกล้เคียงกับความต้องการได้เพียงเสี้ยววินาที ซึ่งนี่เป็นแค่ตัวอย่างของการใช้งานสารสนเทศของผู้ใช้เป็นรายบุคคลเท่านั้น ปัจจุบันหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ได้นำสารสนเทศมาใช้ในการตัดสินใจมากขึ้น ซึ่งระดับของสารสนเทศเป็นระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศ มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับ ดังนี้ 


1. ระดับบุคคล 

            ระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศในระดับบุคคลนั้น จะเป็นการที่แต่ละบุคคลในองค์กรจะสร้างและใช้สารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานส่วนตัวเท่านั้น เช่น การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดในการพิมพ์เอกสาร การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ในงานนำเสนอสำหรับการสอนหรือบรรยาย โดยสามารถกรอกข้อความ ตาราง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ที่ช่วยดึงดูดให้ผู้ฟังสนใจตลอดเวลา การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซลล์กรอกข้อมูล คำนวณ สร้างกราฟ และทำนายผลลัพธ์ของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น 



สารสนเทศระดับบุคคล

2. ระดับกลุ่ม 

            ระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศในระดับกลุ่มนั้น จะเป็นการที่กลุ่มของคนในองค์กรที่ต้องทำงานร่วมกันจะสร้างและใช้สารสนเทศร่วมกัน ซึ่งจะส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

        หลักการ คือ นำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระยะใกล้หรือระยะไกล ทำให้มีการใช้ทรัพยากร ได้แก่ ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน 


สารสนเทศระดับกลุ่ม

3. ระดับองค์กร 

            ระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศในระดับองค์กรนั้น จะเป็นการที่แผนกต่าง ๆ ในองค์กร เช่น แผนการขายและการตลาด แผนการผลิต แผนกจัดซื้อ แผนกบุคคล แผนกการเงินและการบัญชี เป็นต้น มีการสร้างและส่งผ่านสารสนเทศจากแผนกหนึ่งไปยังอีกแผนกหนึ่งได้โดยสร้างสารสนเทศในรูปแบบรายงาน หรือกราฟเพื่อให้ผู้บริหารนำไปประกอบการตัดสินใจได้ 

        หลักการ คือ นำเครื่องคอมพิวเตอร์ของแผนกต่าง ๆ มาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน 

        สิ่งที่สำคัญของระบบสารสนเทศระดับกลุ่มและระดับองค์กร คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายทั้งภายในองค์กรและการเชื่อมโยงภายนอกองค์กร เพื่อให้มีการสื่อสารและส่งข้อมูลถึงกันได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 
ที่มา https://sites.google.com/site/kroonom/radab-khxng-sarsnthes

การจัดการสารสนเทศ

การจัดการสารสนเทศ
ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1) ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (Numeric Data) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำ ไปคำนวณได้ ข้อมูลแบบนี้เขียนได้หลายรูปแบบ คือ
ก. เลขจำนวนเต็ม หมายถึง ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 12, 9, 137 , 8319 , -46
ข. เลขทศนิยม หมายถึง ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 12 หรือเป็นจำนวนที่มีเศษทศนิยมก็ได้ เช่น 12.763
เลขทศนิยมแบบนี้สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบคือ
ก. แบบที่ใช้กันทั่วไป เช่น 12., 9.0 ,17.63, 119.3267 , -17.34
ข. แบบที่ใช้งานทางวิทยาศาสตร์ เช่น
123. x 104 หมายถึง 1230000.0
13.76 x 10-3 หมายถึง 0.01376
- 1764.0 x 102 หมายถึง -176400.0
- 1764.10-2 หมายถึง -17.64
2) ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (Character Data) หมายถึง ข้อมูลที่ ไม่สามารถนำ ไปคำนวณได้ แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ เช่น การเรียงลำดับตัวอักษร ข้อมูลอาจเป็นตัวหนังสือ ตัวเลข หรือเครื่องหมายใด ๆ เช่น COMPUTER, ON-LINE, 1711101,&76

วิธีการประมวลผลข้อมูล
วิธีการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ มีหลายวิธี ดังนี้
1) การคำนวณ (Calculation) หมายถึง การนำข้อมูลที่เป็นตัวเลขมาทำการ บวก ลบ คูณ หารยกกำลัง เช่น การคำนวณภาษี การคำนวณค่าแรง เป็นต้น
2) การจัดเรียงข้อมูล (Sorting) เป็นการเรียงข้อมูลจากน้อยไปหามาก หรือมากไปหาน้อย เพื่อทำให้ดูง่ายขึ้น ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้เร็วขึ้น เช่น การเรียงคะแนนดิบของนักเรียนจากมาก ไปหาน้อย การเก็บบัตรดัชนีสำหรับหนังสือต่างๆ โดยการเรียงตามตัวอักษร จาก ก ข ค ถึง ฮ เป็นต้น
3) การจัดกลุ่ม (Classifying) หมายถึง การจัดข้อมูลโดยการแยกออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ต่างๆ เช่น การนำข้อมูลเกี่ยวกับประวัตินักศึกษา มาแยกตามคณะต่างๆ เช่น แยกเป็นนักศึกษาที่ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ นักศึกษาที่สังกัดคณะครุศาสตร์ เป็นต้น การทำเช่นนี้ทำให้การค้นหาข้อมูล ทำได้ง่ายขึ้น และยังสะดวกสำหรับทำรายงานต่างๆ
4) การดึงข้อมูล (Retrieving) หมายถึง การค้นหาและการนำข้อมูลที่ต้องการมาจากแหล่ง เก็บข้อมูล เพื่อนำไปใช้งาน
5) การรวมข้อมูล (Merging) หมายถึง การนำข้อมูลตั้งแต่สองชุดขึ้นไปมารวมกันให้เป็นชุด เดียวเช่น การนำประวัติส่วนตัวของนักศึกษา และประวัติการศึกษามารวมเป็นชุดเดียวกัน เป็นประวัตินักศึกษาเป็นต้น
6) การสรุปผล (Summarizing) หมายถึง การสรุปส่วนต่างๆของข้อมูลโดยย่อเอา เฉพาะส่วนที่เป็น ใจความสำคัญ เพื่อเน้นจุดสำคัญและแนวโน้ม เช่น การนำข้อฒุลมาแจงนับและ ทำเป็นตารางการ หายอดนักศึกษา ของแต่ละวิชา ข้อมูลเหล่านี้ใช้สำหรับพิมพ์เป็นรายงานสรุป ส่งขึ้นไปให้ผู้บริหาร ระดับสูง เพื่อใช้ในการบริหาร
7) การทำรายงาน (Reporting) หมายถึง การนำข้อมูลมาจัดพิมพ์รายงานรูปแบบต่างๆ เช่น รายงานการวิเคราะห์อาชีพของผู้ปกครองของนักศึกษา รายงานการเรียนของนักศึกษา เป็นต้น
8) การบันทึก (Recording) หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลเอาไว้โดยทำการคัดลอกข้อมูล จากต้นฉบับแล้วเก็บเป็นแฟ้ม (Filing) เช่น การบันทึกประวัติส่วนตัวนักศึกษาแต่ละคน เป็นต้น
9) การปรับปรุงรักษาข้อมูล (Updating) หมายถึง การเพิ่ม (Add) หรือการเอาออก (Delete) และการเปลี่ยนค่า (Change) ข้อมูลที่อยู่ในแฟ้มให้ทันสมัยอยู่เสมอ

วิธีการประมวลผล (Processing Technique) ในรูปแบบที่2 การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการประมวลผลทางธุรกิจนั้นมีวิธีการประมวลผลได้หลายแบบดังนี้
1. การประมวลผลแบบชุด (Batch Processing)
คือ การประมวลผลโดยผู้ใช้จะทำการรวบรวมเอกสารที่ต้องการประมวลผลไว้เป็นชุดๆ ซึ่งแต่ละชุดอาจจะกำหนดเท่ากับเอกสาร 10 หรือ 20 รายการหรือมากกว่าก็ได้แต่ให้มีขนาดเท่ากัน แล้วป้อนข้อมูลดังกล่าวสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงใช้คำสั่งให้ประมวลผลพร้อมกันที่ละชุด

2. การประมวลผลแบบโต้ตอบ (Interactive)
หมายถึง การทำงานในลักษณะที่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้สามารถที่จะตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลา เช่น กรณีที่ลูกค้า นายวัลลภ คลองหก จากบริษัทราชมงคล จำกัด ติดต่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จากแผนกขาย เจ้าหน้าที่พนักงานขายจะต้องป้อนรหัสลูกค้า เพื่อเรียกประวัตินายวัลลภขึ้นมาพิจารณาว่าใน ขณะนี้ได้สั่งซื้อสินค้าเกินวงเงินเครดิตหรือไม่ ถ้าไม่เกินก็อนุมัติการขายแต่ถ้าหากเกินก็อาจจะให้ชำระเป็นเงินสด จากนั้นจะมีการตรวจสอบแฟ้มสินค้าคงคลังว่ามีสินค้าดังกล่าวหรือไม่เพื่อตัดสต็อก (Stock) แล้วพิมพ์บิลเพื่อจัดส่งให้ลูกค้า แสดงการทำงานการออกบิลโดยการประมวลผลแบบโต้ตอบ
ที่มา http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/g7/raim/in4page2.html

วิธีการประมวลผลของข้อมูล

วิธีการประมวลผลของข้อมูล
วิธีการประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูลเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  เพราะข้อมูลรอบ ๆ ตัวเรามีจำนวนมาก  ก่อนนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศก่อนจึงจะนำไปใช้ประโยชน์ได้   ซึ่งวิธีการประมวลผลข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น  2  วิธี  ดังนี้  (สานิตย์  กายาผาด, 2542, หน้า 94)

    1 การประมวลผลออนไลน์ (Online Processing) เป็นเทคนิคการประมวลผลแบบสุ่ม จะประมวลผลตามเวลาที่เกิด การประมวลผลออนไลน์นี้จัดว่าเป็นการประมวลผลแบบ Real-Time Processing หมายความว่าจะทำการประมวลผลทันทีโดยไม่ต้องรอรวบรวมข้อมูล รายการจะถูกนำไปประมวลผลและได้ผลลัพธ์ทันที การประมวลผลแบบ Real-Time นี้ จะมีเทอร์มินัลต่อเข้ากับ CPU โดยตรง ข้อมูลจะมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ระบบลักษณะนี้เรียกว่า Online System  เช่น การฝาก-ถอนเงินของธนาคารด้วย ATM

    2 การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) คือ การประมวลผลโดยมีการรวบรวมข้อมูลไว้ช่วงเวลาหนึ่งก่อนทำการประมวลผล การประมวลผลจะทำตามช่วงเวลาที่กำหนดอาจทำทุกวันหรือทุกสิ้นเดือน ผู้ใช้ไม่สามารถเห็นผลลัพธ์ทันทีและไม่สามารถโต้ตอบกับระบบได้ แต่การประมวลผลแบบนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการประมวลผลได้มากกว่าการประมวลผลแบบอื่น ข้อมูลจะเป็นแบบ Transaction file ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลนี้เรียกว่า Off-line System เช่น ระบบคิดดอกเบี้ยของธนาคาร การคิดค่าน้ำ-ค่าไฟ เป็นต้น
ที่มาhttp://www.buayai.ac.th/buayai/buayai_web/html_web/unit_1/information_process_3.html

ประเภทของข้อมูล ข้อมูลสารสนเทศ

ประเภทของข้อมูล ข้อมูลสารสนเทศ
การแบ่งประเภทของข้อมูลขึ้นอยู่กับ
     - ความต้องการของผู้ใช้
     - ลักษณะของข้อมูลที่นำไปใช้
     - เกณฑ์ที่นำมาพิจารณา

ในหน่วยการเรียนนี้จะยกตัวอย่างการแบ่งข้อมูลไว้ 4 รูปแบบ ดังนี้
1. การแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล

เป็นการแบ่งข้อมูลโดยพิจารณาจากการรับข้อมูลของประสาทสัมผัสของร่างกาย  ได้แก่
   - ข้อมูลภาพที่ได้รับจากการมองเห็นด้วยดวงตา
   - ข้อมูลเสียงที่ได้รับจากการฟังด้วยหู
   - ข้อมูลกลิ่นที่ได้รับจากการสูดดมด้วยจมูก
   - ข้อมูลรสชาติที่ได้รับจากการรับรสชาติด้วยลิ้น
   - ข้อมูลสัมผัสที่ได้รับจากความรู้สึกด้วยผิวหนัง 


2. การแบ่งข้อมูลตามแหล่งข้อมูลที่ได้รับ
โดยพิจารณาจากลักษณะของที่มาหรือการได้รับข้อมูล  ได้แก่
   - ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)  คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูล
โดยตรงด้วยวิธีต่างๆ เช่น จากการสอบถามการสัมภาษณ์การสำรวจการจดบันทึก
ตัวอย่างข้อมูลปฐมภูมิ  ได้แก่  ข้อมูลการมาโรงเรียนสายของนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ซึ่งได้จากการจดบันทึกในรอบ  1  เดือนที่ผ่านมา

   - ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)  คือ  การนำข้อมูลที่ผู้อื่นได้เก็บรวบรวมหรือบันทึกไว้มาใช้งาน
ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมและบันทึกด้วยตนเอง  จัดเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต  มักผ่านการประมวลผลแล้ว
ตัวอย่างข้อมูลทุติยภูมิ  ได้แก่  สถิติการมาโรงเรียนสายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ในปีพ.ศ.2550

3. การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในในสื่ออิเล็กทรอนิกส์
    มีลักษณะคล้ายการแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล  แต่มีการแยกลักษณะข้อมูลตามชนิดและนามสกุล
ของข้อมูลนั้น ๆ  ได้แก่
                - ข้อมูลตัวอักษร เช่น  ตัวหนังสือ  ตัวเลข  และสัญลักษณ์  ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้าย
ชื่อไฟล์เป็น  .txt  และ  .doc
                - ข้อมูลภาพ  เช่น  ภาพกราฟิกต่าง ๆ และภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัล ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุล
ต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น  .bmp  .gif  และ .jpg
               - ข้อมูลเสียง  เช่น  เสียงพูด  เสียงดนตรี  และเสียงเพลง ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้าย
ชื่อไฟล์เป็น .wav  .mp3  และ  .au
               - ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว  เช่น  ภาพเคลื่อนไหว  ภาพมิวสิกวีดีโอ  ภาพยนตร์  คลิปวิดีโอ ข้อมูลประเภท
นี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น  .avi 

4. การแบ่งข้อมูลตามระบบคอมพิวเตอร์ 
    มีลักษณะคล้ายและใกล้เคียงกับการแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาก  แต่มุ่งเน้นพิจารณา
การแบ่งประเภทตามการนำข้อมูลไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์  ได้แก่
                - ข้อมูลเชิงจำนวน  มีลักษณะเป็นตัวเลขที่สามารถนำมาคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ได้  เช่น
จำนวนเงินในกระเป๋า  จำนวนค่าโดยสารรถประจำทาง  และจำนวนนักเรียนในห้องเรียน
                 - ข้อมูลอักขระ  มีลักษณะเป็นตัวอักษร  ตัวหนังสือ  และสัญลักษณ์ ต่างๆ ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล
และเรียงลำดับได้แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณได้  เช่น  หมายเลขโทรศัพท์  เลขที่บ้านและชื่อของนักเรียน
                - ข้อมูลกราฟิก  เป็นข้อมูลที่เกิดจากจุดพิกัดทางคอมพิวเตอร์  ทำให้เกิดรูปภาพหรือแผนที่  เช่น
  เครื่องหมายการค้า  แบบก่อสร้างอาคาร  และกราฟ
                - ข้อมูลภาพลักษณ์  เป็นข้อมูลแสดงความเข้มและสีของรูปภาพที่เกิดจากการสแกนของสแกนเนอร์เป็นหลัก  ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล  ย่อหรือขยาย  และตัดต่อได้  แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณหรือดำเนินการ อย่างอื่นได้

ที่มา http://www.seekan.ac.th/it_com/lesson_01_1.html

ผลกระทบของเทคโนโลยี

ผลกระทบของเทคโนโลยี
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับมนุษย์เป็นอย่างมาก ดังนั้น เมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ ย่อมเกิดผลกระทบทั้งในแง่บวกและแง่ลบ โดยแง่บวกจะมองเห็นได้ง่ายจากสภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น ทำงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ส่วนด้านลบคือทำให้เกิดมลพิษ
ต่าง ๆ มากมาย หรือถ้า เทคโนโลยีเหล่านั้นทำงานผิดพลาดในระบบสำคัญ ๆ อาจเป็นอันตรายกับชีวิตมนุษย์ได้ ผลกระทบนี้ย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตและการทำงานของมนุษย์หลาย ๆ ด้าน และต่อสถาบันที่ให้บริการสารสนเทศ ดังนี้
1. ด้านการรักษาพยาบาล ระบบการรักษาพยาบาลทางไกล คนไข้สามารถใช้บริการของโรงพยาบาลโดยแพทย์ผู้เชียวชาญ สามารถพูดคุยกับคนไข้ทางจอทีวี หรือจอคอมพิวเตอร์เพื่อดูอาการ และวินิจฉัยโรคได้
2. ด้านความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต
2.1 ระบบ “การซื้อสินค้าทางไกล (Tele Shopping ) เช่น การซื้อสินค้าบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การดูโฆษณาสินค้าบนระบบเครือข่าย ติดต่อสื่อสารกับผู้ขายเพื่อ ดูรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้า
2.2 ระบบธนาคารทางไกล(Tele-Banking ) ลูกค้าสามารถใช้บริการธนาคารได้ที่บ้าน เช่นการโอนเงิน การขอดูยอดคงเหลือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบของธนาคารที่ผู้นั้นใช้บริการอยู่
2.3 ด้านความบันเทิง เช่นการเลือกชมภาพยนตร์ที่บ้านโดยใช้บริการ”Video on Demand “ หรือ ”การเลือกชมรายการภาพยนตร์ตามความสนใจ”
2.4 ด้านการศึกษา การเรียนการสอนทางไกล(Tele-Education )
2.5 ด้านการติดต่อสื่อสาร การใช้ไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์(E-mail )
2.6 ด้านการติดตามข้อมูล ความรู้ข่าวสารเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล ช่วยให้การเผยแพร่ความรู้ข่าวสารระหว่างกันเป็นไปอย่างรวดเร็ว
2.7 ด้านธุรกิจ ระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ(Tele-Conference ) ทำให้ประหยัดเวลาเดินทางไม่ต้องไปร่วมประชุมในสถานที่เดียวกัน
ในส่วนที่เป็นสถาบันบริการสารสนเทศ เช่น ห้องสมุด เมื่อมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานห้องสมุด เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบหลายด้าน ทั้งโครงสร้างการดำเนินงาน การบริหาร และการจัดการ อาคารห้องสมุด และผู้ใช้ห้องสมุด

ผลกระทบทางบวก
            1. เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริการและการผลิต ชีวิตคนในสังคมได้รับความสะดวกสบาย เช่น การติดต่อผ่านธนาคารด้วยระบบธนาคารที่บ้าน (Home Banking) การทำงานที่บ้าน ติดต่อสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การบันเทิงพักผ่อนด้วยระบบมัลติมีเดียที่บ้าน เป็นต้น
            2. เป็นสังคมแห่งการสื่อสารเกิดสังคมโลกขึ้น โดยสามารถเอาชนะเรื่องระยะทาง เวลา และสถานที่ได้ ด้วยความเร็วในการติดต่อสื่อสารที่เป็นเครือข่ายความเร็วสูง และที่เป็นเครือข่ายแบบไร้สายทำให้มนุษย์แต่ละคนในสังคมสามารถติดต่อถึงกัน อย่างรวดเร็ว
            3. มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ในฐานข้อมูลความรู้ เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์ แพทย์ที่อยู่ในชนบทก็สามารถวินิจฉัยโรคจากฐานข้อมูลความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางการแพทย์ในสถาบันการแพทย์ที่มีชื่อเสียงได้ทั่วโลกหรือใช้วิธี ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในระบบทางไกลได้ด้วย
             4. เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์ช่วยเหลือคนพิการให้สามารถพัฒนาทักษะและความรู้ได้ เพื่อให้คนพิการเหล่านั้นสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ผู้พิการจึงไม่ถูกทอดทิ้งให้เป็นภาวะของสังคม
             5. พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) และการ เรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Learning : CAL) ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น ไม่ซ้ำซากจำเจผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ด้วยระบบที่เป็นมัลติมีเดีย นอกจากนั้นยังมีบทบาทต่อการนำมาใช้ในการสอนทางไกล (Distance Learning) เพื่อผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาในชนบทที่ห่างไกล
            6. การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กล่าวคือช่วยลดเวลาในการทำงานให้น้อยลง แต่ได้ผลผลิตมากขึ้น เช่น การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing) เพื่อช่วยในการพิมพ์เอกสาร การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบงานลักษณะต่างๆ
            7. ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสิ้นค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้รูปแบบของผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่และหลากหลายมากยิ่งขึ้นผู้ผลิตผลิต สิ้นค้าที่มีคุณภาพ ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้ตามต้องการ และช่องทางทางการค้าก็มีให้เลือกมากขึ้น เช่น การเลือกซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ผลกระทบทางลบ
            1. ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรอยู่ก็มักจะชอบทำอย่างนั้นไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร บุคคลวิถีการดำเนินชีวิตและการทำงาน ผู้ที่รับต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ได้จึงเกิดความวิตกกังกลขึ้นจนกลายเป็นความ เครียด กลัวว่า เครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์ทำให้คนตกงาน การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาแทนมนุษย์ในโรงงานอุตสาหกรรมก็เพื่อลดต้น ทุนการผลิต และผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานความ เปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดความเครียด เกิดความทุกข์และความเดือดร้อนแก่ครอบครัวติดตามมา การดำเนินธุรกิจในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดสภาวะการแข่งขันที่รุนแรง การทำงานต้องรวดเร็ว เร่งรีบเพื่อชนะคู่แข่ง ต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วและถูกต้อง หากทำไม่ได้ก็จะทำให้หน่วยงานหรือองค์กรต้องยุบเลิกไป เมื่อชีวิตของคนในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศต้องแข่งขัน ก็ย่อมก่อให้เกิดความเครียดสูงขึ้น

            2. ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก การแพร่ของวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่งสังคมอีกสังคมหนึ่งเป็นการสร้างค่า นิยมใหม่ให้กับสังคมที่รับวัฒนธรรมนั้น ซึ่งอาจก่อให้เกิด ค่านิยมที่ไม่พึ่งประสงค์ขึ้นในสังคมนั้น เช่น พฤติกรรมที่แสดงออกทางค่านิยมของเยาวชนด้านการแต่งกายและการบริโภค การมอมเมาเยาวชนในรูปของเกมส์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอารมณ์และจิตใจของเยาวชน เกิดการกลืนวัฒนธรรมดังเดิมซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของสังคมนั้นๆ

            3. ก่อให้เกิดผลด้านศิลธรรม การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วในระบบเครือข่ายก่อให้เกิดโลกไร้พรมแดน แต่เมื่อพิจารณาศิลธรรมของแต่ละประเทศ พบว่ามีความแตกต่างกัน ประเทศต่างๆผู้คนอยู่ร่วมกันได้ด้วยจารีตประเพณี และศิลธรรมดีงามของประเทศนั้นๆ การแพร่ภาพหรือข้อมูลข่าวสารที่ไม่ดีไปยังประเทศต่างๆ มีผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในประเทศนั้นๆที่นับถือศาสนาแตกต่างกัน และมีค่านิยมแตกต่างกัน ทำให้เยาวชนรุ่นใหม่สับสนต่อค่านิยมที่ดีงามดั่งเดิม เกิดการลอกเลียนแบบ อยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่ๆ ที่ผิดศิลธรรม จนกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องในกลุ่มเยาวชน เมื่อเยาวชนปฏิบัติต่อๆ กันมาก็จะทำให้ศิลธรรมของประเทศนั้นๆ เสื่อมสลายลง

            4. การมีส่วนร่มของคนในสังคมลดน้อยลง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการสื่อสาร และการทำงาน แต่ในอีกด้านหนึ่งการมีส่วนร่วมของกิจกรรมทางสังคมที่มีการพบปะสังรรค์กันจะ มีน้อยลง สังคมเริ่มห่างเหินจากกัน การใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางไกลทำให้ทำงานอยู่ที่บ้านหรือเกิดการศึกษาทางไกล โดยไม่ต้องเดินทางมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง ระหว่างครูกับนักเรียน ระหว่างกลุ่มคนต่อกลุ่มคนในสังคมก่อให้เกิดช่องว่างทางสังคมขึ้น

            5. การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่มีขีดจำกัดย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วน บุคคล การนำเอาข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวกับบุคคลออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่ สาธารณชน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่นนี้ต้องมีกฎหมายออกมาให้ความคุ้มครองเพื่อให้นำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง

            6. เกิดช่องว่างทางสังคม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวช้องกับการลงทุน ผู้ใช้จึงเป็นชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม ในขณะที่ชนชั้นระดับรองลงมามีอยู่จำนวนมากกลับไม่มีโอกาสใช้ และผู้ที่ยากจนก็ไม่มีโอกาสรู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่กระจายตัวเท่าที่ควร ก่อให้เกิดช่องว่างทางสังคมระหว่างชนชั้นหนึ่งกับอีกชนชั้นหนึ่งมากยิ่งขึ้น

            7. เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทต่อการทำงานมากขึ้น ระบบการทำงานต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป มีการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้กันอย่างแพร่หลายในด้านต่างๆ เช่น ด้านการศึกษา การ สาธารณสุข เศรษฐกิจการค้า และธุรกิจอุตสาหกรรม รวมถึงกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ โดยที่ประชาชนของประเทศส่วนมากยังขาดความรู้ใจเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ เครือข่ายและคอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านการทำงาน คนที่ทำงานด้วยวิธีเก่าๆ ก็เกิดการต่อต้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เกิดความรู้สึกหวาดระแวงและวิตกกังวล เกรงกลัวว่าตนเองด้อยประสิทธิภาพ จึงเกิดสภาวะของความรู้สึกต่อต้าน กลัวสูญเสียคุณค่าของชีวิตการทำงาน สังคมรุ่นใหม่จะยอมรับในเรื่องของความรู้ความสามารถมากกว่ายอมรับวัยวุฒิ และประสบการณ์ในการทำงานเหมืนเช่นเดิม

            8. อาชญากรรมบนเครือข่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ขึ้น เช่น ปัญหาอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ การขโมยข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการ สารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำลายข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในระบบเครือข่าย เช่น ไวรัสเครือข่ายการแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ ก่อให้เกิดการหลอกลวง และมีผลเสียติดตามมาลักษณะของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ที่รู้จัก กันดีได้แก่ แฮกเกอร์ (Hacker) และแครกเกอร์ (Cracker) โดยเฉพาะแฮกเกอร์ คือ ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานสำคัญๆ โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัย แต่ไม่ทำลายข้อมูล หรือหาประโยชน์จากการบุกรุกคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น แต่ก็ถือได้ว่าเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่งที่ไม่พึงประสงค์ ส่วนแครกเกอร์ คือ ผู้ซึ่งกระทำการถอดระหัสผ่านข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถนำเอาโปรแกรมหรือข้อมูลต่างๆ มาใช้ใหม่ได้เป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นการลักลอกหรือเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่ง

            9. ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ นับตั้งแต่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงาน การศึกษา บันเทิง ฯลฯ การจ้องมองคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ มีผลเสียต่อสายตาซึ่งทำให้สายตาผิดปกติ มีอาการแสบตา เวียนศรีษะ นอกจากนั้นยังมีผลต่อสุขภาพจิต เกิดโรคทางจิตประสาท เช่น โรคคลั่งอินเตอร์เน็ต เป็นโรคที่เกิดขึ้นในคนรุ่นใหม่ลักษณะ คือ แยกตัวออกจากสังคมและมีโลกส่วนตัว ไม่สนใจสภาพแวดล้อมก่อให้เกิดอาการป่วยทางจิตคลุ้มคลั่งสลับซึมเศร้า อีกโรคหนึ่ง คือ โรคคลั่งช้อปปิ้งทางอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะการเสนอสินค้าทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ผ่านอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีลูกค้าสนใจเข้าไปช้อปปิ้งดูสินค้าต่างๆ ทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นจนเป็นที่สนใจของจิตแพทย์ นอกจากนั้นการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ก่อให้เกิดโรคอาร์เอสไอ (Repetitive Strain Injury : RSI) ซึ่งมีอาการบาดเจ็บเนื่องจากการใช้แป้นพิมพ์เป็นเวลานานๆ ทำให้เส้นประสาทรับความรู้สึกที่มือ และนิ้วเกิดบาดเจ็บขึ้นเมื่อใช้อวัยวะนั้นบ่อยครั้ง เส้นประสาทรับความรู้สึกเกิดเสียหายไม่รับความรู้สึกหรือรับน้อยลง

ทั้งนี้ทั้งนั้นผลกระทบของไอทียังสามารถแบ่งออกได้หลายด้าน ดังนี้

ด้านธุรกิจ
            1. ไอทีมีส่วนช่วยในการตัดสินใจในธุรกิจที่สนใจได้ทันทีทันใด บนพื้นฐานของข้อมูลที่กำหนดให้
            2. ไอทีช่วยให้ต้นทุนในการผลิตและการบริการลดลง
            3. ลดการติดต่อสื่อสารผ่านคนกลาง โดยผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรงทำให้ลดขั้นตอนในการ สื่อสารและทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง

ด้านสื่อสารมวลชน
            1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การกระจายข่าวสารทำได้รวดเร็ว และ เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น
            2. ด้วยรูปแบบที่หลากหลายของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การกระจายข้อมูลหลายหลายขึ้นอีกทั้งยังให้ข้อมูลมีความน่าสนใจมากขึ้นอีกด้วย
ด้านโครงสร้างทางสังคม
            1. ทำให้องค์กรเข้าถึงมวลชนได้ง่ายขึ้นทำให้สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าถึงกันได้มากขึ้น
            2. ทำให้ประชาชนมีอำนาจในการต่อรองกับรัฐมากขึ้น เพราะทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายทำให้ทราบความเลื่อนไหวที่เกิด ขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

ด้านวัฒนธรรมและการศึกษา
            1. เกิดการแพร่หลายทางวัฒนธรรมที่มาจากต่างถิ่น เพราะทุกคนสามารถเสาะหาข้อมูลเหล่านี้ได้ง่ายจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่
ในปัจจุบัน
            2. ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรงด้วยตัวเอง และทันทีทันได้ที่ต้องการเรียนรู้
            3. ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านภาษา และเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากมัน
ที่มา https://sites.google.com/site/pitchakornntpa/home/phlk-ra-thb-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ



ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรม ชาติ เป็นกลุ่มสัญลักษณ์แทนปริมาณ หรือการกระทำต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ หรือการประมวลผล ข้อมูลอยู่ในรูปของ ตัวเลขตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ เป็นต้น 
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเปลี่ยนแปลง หรือจัดกระทำเพื่อผลของการ เพิ่มความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้ ลักษณะของสารสนเทศ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกันเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ส่วนคือ 
1. ข้อมูล เป็นตัวเลข ข้อความ เสียงและภาพ เป็นข้อมูล ป้อนเข้า 
2. การประมวลผล เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูล จัดกระทำข้อมูล เพื่อ ให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้ 
3. การจัดเก็บ เป็นวิธีการที่จะเก็บข้อมูลให้เป็นระบบที่สะดวกต่อการใช้ และ สามารถแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน 
4. เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูล การประมวลผลทำให้เกิดผล ผลิต ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป อุปกรณ์การสื่อสาร เป็นต้น 
5. สารสนเทศ ผลผลิตของระบบสารสนเทศจะต้องถูกต้อง ตรงกับความต้อง การใช้ และทันต่อเหตุการณ์ใช้งาน 
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้ 
1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้ 
2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ 
2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล 
2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน 
2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์ 
3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน 
4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร 
5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย 
6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว 
7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ 
8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ 
9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ 
ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้ 1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง 
2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน 
3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น 

ที่มา https://blog.eduzones.com/noknik15clab/33086

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
ระบบการทํางานของคอมพิวเตอร์ การทํางานของคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 
           ทําหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคําสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจํา เพื่อเตรียมประมวลผล
ข้อมูลที่ต้องการ  ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนําข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น  มีอยู่หลายประเภทด้วย
กันสําหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี ดังต่อไปนี้
           - Keyboard
           - Mouse
           - Disk Drive
           - Hard Drive
           - CD-Rom
           - Magnetic Tape
           - Card Reader
           - Scanner

2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) 

           ทําหน้าที่ในการคํานวณและประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 หน่วยย่อย คือ
           - หน่วยควบคุม  ทําหน้าที่ในการดูแล ควบคุมลําดับขั้นตอนของการประมวลผล และการทํางาน
ของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในหน่วยประมวลผลกลาง  และช่วยประสานงานระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับ
อุปกรณ์นําเข้าข้อมูล อุปกรณ์ในการแสดงผล และหน่วยความจําสํารอง
           - หน่วยคํานวณและตรรก ทําหน้าที่ในการคํานวณและเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ ที่ส่งมาจาก
หน่วยควบคุม และหน่วยความจํา
3. หน่วยความจํ า (Memory) 
           ทําหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคําสั่งต่างๆ ที่รับจากภายนอกเข้ามาเก็บไว้ เพื่อประมวลผลและยัง
เก็บผลที่ได้จากการประมวลผลไว้เพื่อแสดงผลอีกด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็น
           หน่วยความจํา เป็นหน่วยความจําที่มีอยู่ ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ในการเก็บคําสั่ง
หรือข้อมูล แบ่งออกเป็น
           - ROM หน่วยความจําแบบถาวร
           - RAM หน่วยความจําแบบชั่วคราว
           - หน่วยความจําสํารอง    เป็นหน่วยความจําที่อยู่นอกเครื่อง มีหน้าที่ช่วยให้หน่วยความจําหลัก
สามารถเก็บ ข้อมูลได้มากขึ้น
4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) 
           ทําหน้าที่ในการแสดงผลลัทธ์ที่ได้หลังจากการคํานวณและประมวลผล สําหรับอุปกรณ์ที่ ทําหน้าที่
ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้นั้นมีต่อไปนี้
           - Monitor จอภาพ
           - Printer เครื่องพิมพ.
           - Plotter เครื่องพิมพ์ที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการลงกระดาษ

ที่มา http://www.thaigoodview.com/node/161721

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความสำคัญของคอมพิวเตอร์


ความสำคัญของคอมพิวเตอร์


ปัจจุบันเทคโนโลยีและการสื่อสารได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์อุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาค้นคว้าและการทำธุรกิจ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้องค์กรต่างๆ นำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยในการดำเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกิจและให้บริการบนอินเตอร์เน็ต ตลอดจนการใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงาน
                ไม่เพียงแต่ในองค์กรต่างๆ เท่านั้นที่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน ผู้ใช้ตามบ้านโดยทั่วไป ก็ได้จัดหาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ส่วนตัวกันมากขึ้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งสามารถใช้งานได้ง่ายกว่าในอดีตมาก จนมีการประมาณการกันว่า ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในทุกๆ ครัวเรือนเหมือนกับเครื่องรับโทรทัศน์
                ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว การเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในการทำงานการศึกษาหรือเพื่อความบันเทิง ให้มีประสิทธิภาพและความสะดวกเพิ่มมากขึ้น
                คอมพิวเตอร์มีข้อดีอย่างไร มนุษย์เราจึงได้นำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ได้ เราต้องทราบคุณสมบัติพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เสียก่อน ซึ่งมีอยู่ 5 ประการที่สำคัญดังนี้

                                1. ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic machine)
                                คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการบันทึกข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้ และเมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าจะถูกแปลงกลับให้เป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้

                                2. การทำงานด้วยความเร็วสูง (speed)
                                เนื่องจากการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการดำเนินงานต่างๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่าพันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที)

                                3. ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (accuracy and reliability)
                                คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคำสั่งไว้ ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีความถูกต้องเชื่อถือได้

                                4. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (storage)
                                คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกเข้าไป ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านตัวอักษร

                                5. การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (communication)
                                คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ และสามารถทำงานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์แบบระบบเดี่ยว ตัวอย่างเช่น การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น (remote computer)

                จากคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์เราจะเห็นได้ว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆ อย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ หรือถ้ามนุษย์ทำได้ ก็จะใช้เวลามากและมีข้อผิดพลาดมากมาย เช่น การคำนวณตัวเลขหลายหลักเป็นจำนวนมากภายในเวลาจำกัดการทำงานในแบบเดียวกันซ้ำๆ หลายล้านครั้ง หรือการจดจำข้อมูลตัวเลขและตัวหนังสือหลายหมื่นหน้าโดยไม่มีการลืม งานที่น่าเบื่อและยุ่งยากเหล่านี้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนได้ โดยเรามีหน้าที่เพียงเป็นผู้สั่งการเท่านั้น
ที่มาhttp://www.thaigoodview.com/node/122280