ประเภทของข้อมูล ข้อมูลสารสนเทศ
การแบ่งประเภทของข้อมูลขึ้นอยู่กับ- ความต้องการของผู้ใช้
- ลักษณะของข้อมูลที่นำไปใช้
- เกณฑ์ที่นำมาพิจารณา
ในหน่วยการเรียนนี้จะยกตัวอย่างการแบ่งข้อมูลไว้ 4 รูปแบบ ดังนี้
1. การแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล
เป็นการแบ่งข้อมูลโดยพิจารณาจากการรับข้อมูลของประสาทสัมผัสของร่างกาย ได้แก่
- ข้อมูลภาพที่ได้รับจากการมองเห็นด้วยดวงตา
- ข้อมูลเสียงที่ได้รับจากการฟังด้วยหู
- ข้อมูลกลิ่นที่ได้รับจากการสูดดมด้วยจมูก
- ข้อมูลรสชาติที่ได้รับจากการรับรสชาติด้วยลิ้น
- ข้อมูลสัมผัสที่ได้รับจากความรู้สึกด้วยผิวหนัง
2. การแบ่งข้อมูลตามแหล่งข้อมูลที่ได้รับ
โดยพิจารณาจากลักษณะของที่มาหรือการได้รับข้อมูล ได้แก่
- ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูล
โดยตรงด้วยวิธีต่างๆ เช่น จากการสอบถามการสัมภาษณ์การสำรวจการจดบันทึก
ตัวอย่างข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ ข้อมูลการมาโรงเรียนสายของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ซึ่งได้จากการจดบันทึกในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
- ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ การนำข้อมูลที่ผู้อื่นได้เก็บรวบรวมหรือบันทึกไว้มาใช้งาน
ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมและบันทึกด้วยตนเอง จัดเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต มักผ่านการประมวลผลแล้ว
ตัวอย่างข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ สถิติการมาโรงเรียนสายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปีพ.ศ.2550
3. การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในในสื่ออิเล็กทรอนิกส์
มีลักษณะคล้ายการแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล แต่มีการแยกลักษณะข้อมูลตามชนิดและนามสกุล
ของข้อมูลนั้น ๆ ได้แก่
- ข้อมูลตัวอักษร เช่น ตัวหนังสือ ตัวเลข และสัญลักษณ์ ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้าย
ชื่อไฟล์เป็น .txt และ .doc
- ข้อมูลภาพ เช่น ภาพกราฟิกต่าง ๆ และภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัล ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุล
ต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น .bmp .gif และ .jpg
- ข้อมูลเสียง เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี และเสียงเพลง ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้าย
ชื่อไฟล์เป็น .wav .mp3 และ .au
- ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพเคลื่อนไหว ภาพมิวสิกวีดีโอ ภาพยนตร์ คลิปวิดีโอ ข้อมูลประเภท
นี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น .avi
4. การแบ่งข้อมูลตามระบบคอมพิวเตอร์
มีลักษณะคล้ายและใกล้เคียงกับการแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาก แต่มุ่งเน้นพิจารณา
การแบ่งประเภทตามการนำข้อมูลไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่
- ข้อมูลเชิงจำนวน มีลักษณะเป็นตัวเลขที่สามารถนำมาคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ได้ เช่น
จำนวนเงินในกระเป๋า จำนวนค่าโดยสารรถประจำทาง และจำนวนนักเรียนในห้องเรียน
- ข้อมูลอักขระ มีลักษณะเป็นตัวอักษร ตัวหนังสือ และสัญลักษณ์ ต่างๆ ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล
และเรียงลำดับได้แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณได้ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บ้านและชื่อของนักเรียน
- ข้อมูลกราฟิก เป็นข้อมูลที่เกิดจากจุดพิกัดทางคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดรูปภาพหรือแผนที่ เช่น
เครื่องหมายการค้า แบบก่อสร้างอาคาร และกราฟ
- ข้อมูลภาพลักษณ์ เป็นข้อมูลแสดงความเข้มและสีของรูปภาพที่เกิดจากการสแกนของสแกนเนอร์เป็นหลัก ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล ย่อหรือขยาย และตัดต่อได้ แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณหรือดำเนินการ อย่างอื่นได้
ที่มา http://www.seekan.ac.th/it_com/lesson_01_1.html
์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น